(อิทัปปัจจยตา)
(หันทะ มะยัง ปะฏิจจะสะมุปปาทะธัมเมสุ อิทัปปัจจะยะตาทิธัมมะปาฐัง ภะณามะ เส)
กะตะโม จะ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็ปฏิจจสมุปบาท, เป็นอย่างไรเล่า
(๑) ชาติปัจจะยา ภิกขะเว ชะรามะระณัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะย่อมมี
อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง, อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย, จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม
ฐิตา วะ สา ธาตุ
ธรรมธาตุนั้น, ย่อมตั้งอยู่แล้ว, นั่นเทียว
ธัมมัฏฐิตะตา
คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา
ธัมมะนิยามะตา
คือความเป็นกฏตายตัวแห่งธรรมดา
อิทัปปัจจะยะตา
คือความที่เมื่อมีสิ้งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ, ย่อมถึงพร้อมเฉพาะซึ่งธรรมธาตุนั้น
อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา
ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว
อาจิกขะติ เทเสติ
ย่อมบอก, ย่อมแสดง
ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ
ย่อมบัญญัติ, ย่อมตั้งขึ้นไว้
วิวะระติ วิภะชะติ
ย่อมเปิดเผย, ย่อมจำแนกแจกแจง
อุตตานีกะโรติ
ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ
ปัสสะถาติ จาหะ, ชาติปัจจะยา ภิกขะเว ชะรามะระณัง
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู, เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะย่อมมี
อิติโข ภิกขะเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุดังนี้ แล
ยาตัตระ ตะถะตา
ธรรมธาตุใด, ในกรณีนั้น, อันเป็นตถตา, คือความเป็นอย่างนั้น
อะวิตะถะตา
เป็นอวิตถตา, คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
อะนัญญะถะตา
เป็นอนัญญถตา, คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น
อิทัปปัจจะยะตา
เป็นอิทัปปัจจยตา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ธรรมนี้, เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท, (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น)